ข้าวโพดหวาน

Ratings
(2)

ที่มา ข้าวโพดหวานอินทรี 2  

ข้าวโพดหวานพันธุ์อินทรี 2 เป็นข้าวโพดหวานลูกผสมเดี่ยวที่เกิดจากการผสมระหว่างสายพันธุ์แท้ SSWI 114 กับ KSei 14004 หรือ [(sh2 Syn 29 x KS 1) x Suwan 3(S)C4]-F4-S8-24-2-4-2-2 จากผลการทดสอบพันธุ์ จานวน 7 ฤดู เป็นเวลา 6 ปี (พ.ศ. 2537-42) ที่ไร่สุวรรณ พบว่า อินทรี 2 ให้น้ำหนักฝักสดทั้งเปลือก (2,430 กก./ไร่) และน้ำหนักฝักสดปอกเปลือกที่ดี (1,371 กก./ไร่) ให้เปอร์เซ็นต์เมล็ดที่ตัด 34.17% และความหวาน 15.0% บริกซ์ มีความนุ่ม และรสชาติดี จากผลการทดสอบพันธุ์ในสถานีทดลองต่าง ๆ รวม 4 แห่ง ในฤดูแล้ง ปี 2542 พบว่า อินทรี 2 ให้น้าหนักฝักสดทั้งเปลือก 2,330 กก./ไร่ และน้าหนักฝักสดปอกเปลือกที่ดี 1,540 กก./ไร่ สูงกว่า อินทรี 1 3.6 และ 3.4% ตามลาดับ ผลการปลูกทดสอบ อินทรี 2 สำหรับโรงงานแปรรูป ในต้นฤดูฝน ปี 2541 พบว่า อินทรี 2 ให้น้ำหนักฝักสดทั้งเปลือก 2,097 กก./ไร่, น้ำหนักฝักสดปอกเปลือกที่ดี 1,422 กก./ไร่ , ผลผลิตบรรจุกระป๋อง 766 กก./ไร่ , ความหวาน 15% บริกซ์, เนื้อสัมผัสอ่อนนุ่ม เมล็ดไม่ยุบตัวอยู่ได้ 2-3 วัน, ฝักสีเหลือง ทรงกระบอก แถวเมล็ดเรียงตัวสม่ำเสมอ ไหมมีสีอ่อน, ฝักยาว 17 ซม. กว้าง 4.5 ซม., มี 14-16 แถว, มีอายุวันออกไหม 50% 48 วัน และมีความสูงต้นและฝักปานกลาง (198 และ 106 ซม. ตามลำดับ) ศูนย์วิจัยข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติได้เผยแพร่พันธุ์อินทรี 2 สู่เกษตรกรและโรงงาน แปรรูปในปี พ.ศ. 2542

การเตรียมดิน

การเตรียมดินมีวัตถุประสงค์ เพื่อทำให้โครงสร้างของดินมีสภาพที่เหมาะต่อการเจริญเติบโตของพืช ควบคุมและกำจัดวัชพืช เตรียมผิวดินให้เหมาะแก่การชลประทาน และเป็นการเพิ่มปุ๋ย หากมีการไถกลบซากพืชหรือพืชสดลงในดิน อีกทั้งเป็นการควบคุมโรคและแมลงที่เป็นศัตรูพืช มีวิธีการดังนี้

  1. 1. ไถดะหรือไถบุกเบิกด้วยผาล 3 และตากดินไว้ระยะหนึ่งประมาณ 1-2 สัปดาห์ จะช่วยลดปริมาณวัชพืชและซากวัชพืชหรือกำจัดโรคและแมลงที่เคยระบาดได้
  2. 2. ไถแปรหรือไถบุพรวนด้วยผาล 7 แล้วตามด้วยจอบหมุน (Rotary Tillers) และตากดินไว้ระยะหนึ่งจะช่วยลดปริมาณวัชพืชและซากพืชหรือกำจัดโรคและแมลงที่เคยระบาดได้
  3. 3. กรณีที่ดินไม่สามารถระบายน้าได้ดีหรือมีเครื่องมือหรืออุปกรณ์ สามารถยกร่องปลูกได้ตามต้องการ

นอกจากนี้ยังสามารถปลูกได้โดยไม่ไถเตรียมดินโดยเฉพาะในดินร่วน ดินร่วนปนทรายและร่วนเหนียว เป็นวิธีการที่ดีกว่าการปลูกโดยไถพรวนตามปกติ เนื่องจากสามารถช่วยลดต้นทุนในการไถพรวนและยังช่วยให้ปลูกข้าวโพดได้เร็วขึ้นด้วย ซึ่งการปลูกตามได้ทันทีหลังเก็บเกี่ยวข้าวโดยอาศัยความชื้นในดินที่หลงเหลืออยู่ สามารถประหยัดการใช้น้าได้อย่างดี

หมายเหตุ ข้าวโพดหวานต้องการดินที่มีค่า pH ระหว่าง 5.6-6.8 ปริมาณวิกฤติของธาตุอาหารหลักสำหรับการเจริญเติบโต ดังนี้ ไนโตรเจน (N) = 3.0 %, ฟอสฟอรัส (P) =0.25 % และ โพแทสเซียม (K) = 1.9 %

การปลูกและวิธีปลูก

การปลูกข้าวโพดหวานโดยคนปลูกอาจใช้จอบสับเป็นหลุม หรือใช้อุปกรณ์ปลูก เรียกว่า แจ๊ป หยอดหลุมละ 1-2 เมล็ด กลบดินหนา ประมาณ 1-2 ซม. เมื่อข้าวโพดอายุได้ประมาณ 15 วัน ควรถอดต้นที่ไม่สมบุรณ์ เหลือไว้หลุมละ 1 ต้น (หลุมไหนไม่งอกให้ชดเชยหลุมถัดไป คือเหลือไว้ 2 ต้น) (1 ไร่ ใช้เมล็ดพันธุ์ 1.5-2.0 กก.)

การปลูกข้าวโพดหวานโดยใช้รถแทรกเตอร์พ่วงเครื่องปลูกพร้อมใส่ปุ๋ยรองพื้น เป็นการปลูกข้าวโพดหวานในพื้นที่ปลูกขนาดใหญ่ แต่ต้องปลูกด้วยความระมัดระวัง เครื่องปลูกต้องปรับตั้งให้ดี เพราะเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดหวานเปราะบางต่อการเสียดสีของจานปลูก โดยปลูกแบบร่องคู่ หรือร่องเดี่ยว ดังนี้

  1. 1. การปลูกแบบแถวเดี่ยว ระยะระหว่างแถว 75 ซม. ระยะระหว่างหลุม 30 ซม. ปลูก 1 ต้นต่อหลุม การเตรียมแถวปลูกโดยการขีดร่องในฤดูแล้งช่วงเดือน พฤศจิกายน-มีนาคม และยกร่องในฤดูฝนช่วงเดือนเมษายน – ตุลาคม
  2. 2. การปลูกแบบแถวคู่ ชักร่องกว้าง 110-120 ซม. ระยะห่างระหว่างหลุม 35-40 ซม. ปลูก 1 ต้นต่อหลุม โดยปลูกข้างสันร่องทั้งสองข้าง ระยะระหว่างหลุม 30 ซม.

ก่อนปลูกคลุกเมล็ดข้าวโพดหวานป้องกันเชื้อรา (Fungicide) ที่ช่วยป้องกันโรคราน้ำค้าง ที่ปนมากับเมล็ด และสารป้องกันกันกำจัดแมลง (Insecticide) และสารประกอบอื่น ๆ ต่อเมล็ดพันธุ์ 1 กก. ดังนี้

  1. 1. แคปแทน (Captan) อัตรา 1 กรัม
  2. 2. เมทาแลกซิล (Metalaxyl) อัตรา 7 กรัม
  3. 3. แอกทาลิก((pirimiphos-methyl) 50% W/V อัตรา 0.05 ซีซี
  4. 4. น้ำสะอาด อัตรา 5 ซีซี
  5. 5. PEG (Poly ethylene glycol 400) (ถ้ามี) อัตรา 1 กรัม

หมายเหตุ ในกรณีพื้นที่ที่มีการระบาดของหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด (FAW) อาจคลุกเมล็ดพันธุ์ด้วย ไซแอนทรานิลิโพล (cyantraniliprole 20% SC.) อัตรา 20 ซีซี สามารถป้องกันได้ 15-20 วัน

ฤดูปลูกและวันปลูก

โดยทั่วไปฤดูปลูกที่เหมาะสมในการปลูกข้าวโพด มี 3 ฤดู คือ

  1. 1. ฤดูแล้ง ปลูกตั้งแต่ เดือนพฤศจิกายน -ธันวาคม
  2. 2. ฤดูต้นฝนปลูกตั้งแต่ เดือนมีนาคม -มิถุนายน
  3. 3. ฤดูปลายฝนปลูกตั้งแต่ เดือนกรกฎาคม -สิงหาคม

แต่ฤดูปลูกที่เหมาะสมต่อการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพด ได้แก่ ปลายฤดูฝน และฤดูแล้ง หลักการสำคัญก็คือ ข้าวโพดจะต้องไม่ขาดน้ำขณะออกดอกและติดเมล็ด

การเว้นระยะห่างจากข้าวโพดพันธุ์อื่น

การปลูกข้าวโพดหวานพันธุ์อินทรี 2 ควรปลูกห่างจากข้าวโพดหวานที่มียีนต่างกัน ข้าวโพดข้าวเหนียว และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อย่างน้อย 200 เมตร หรือปลูกเหลื่อมล้ำกับข้าวโพดพันธุ์อื่น อย่างน้อย 20-30 หลังจากให้น้ำครั้งแรก และควรปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดเพื่อป้องกันการผสมข้ามพันธุ์อื่น ทำให้เมล็ดข้าวโพดหวานที่ได้ไม่บริสุทธิ์ อาจส่งผลให้ความหวาน และคุณภาพการรับประทานลดลง

การควบคุมวัชพืช

การควบคุมกำจัดวัชพืชและการอารักขาพืช  โดยทั่วไปการพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชโดยฉีดพ่นสารควบคุมวัชพืชก่อนข้าวโพดงอก หลังจากให้น้ำด้วย เพนดิมิทาลีน (Pendimethalin 33% W/V EC) อัตรา 300-350 มล./ไร่ และอาทราซิน (Atrazing 90% WG) อัตรา 300-400 กรัม/ไร่ หรือสารควบคุมวัชพืชอื่นๆ ตามคำแนะนาของกรมวิชาการเกษตร ที่สาคัญต้องคานึงถึงช่วงเวลาในการฉีดพ่นด้วย เช่น การฉีดยาคุมวัชพืชควรฉีดทันทีหลังปลูกและให้น้ำวันแรก ซึ่งเป็นช่วงที่ดินมีความชื้นจะทำให้ยามีประสิทธิภาพมากขึ้น

การถอนแยกและปลูกซ่อม การพูนโคน ในกรณีที่มีการใช้สารเคมี ต้องศึกษาและเลือกใช้ให้เหมาะสม

ช่วงวิกฤติที่ข้าวโพดอ่อนแอกว่าวัชพืชที่สุดคือ ระยะ 13-25 วันหลังงอก ระยะนี้ถ้ามีวัชพืชรบกวนจะทำให้ผลผลิตข้าวโพดเสียหายสูงสุด ดังนั้นการปลูกข้าวโพดให้ได้ผลผลิตสูงจึงต้องให้แปลงปลอดวัชพืชตลอดช่วง 1 เดือนแรกตั้งแต่ปลูก

โรคและแมลง

โรค ปัญหาที่พบคือ โรคราน้ำค้าง และโรคใบไหม้ เกษตรกรจะพ่นด้วยสารป้องกันโรคพืชคือ ไดเมทโทม๊อบ ฟังกูราน สกอร์ แคปแทน และแคงเคอร์ X ตามชนิดของโรค

แมลง ศัตรูที่พบคือ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ หนอนเจาะลำต้นและหนอนเจาะฝัก ควรพ่นด้วย เชฟวิน 85 อิมิดาโดลพริด, เบต้าไซฟลูทริน เดลทาเมทริน ตัวใดตัวหนึ่งตามการระบาดของแมลงศัตรู

หมายเหตุ ในกรณีพื้นที่ที่มีการระบาดของหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด (FAW) สารเคมีที่ใช้ ได้แก่ 1. อิมาเม็คตินเบนโซเอท (Emamectin Benzoate) 20% WG. 2. สไปนีโทรแรม (Spinetoram) 12%W/V SC. 3. คลอแรนทรานิลิโพล (Chlorantraniliprole) 20% WG. +ไทอะมีท๊อกแซม (Thiamethpxam) 20% WG. 4. เมทอกซีฟีโนไซด์ (Methoxyfenozide) 30% w/v + สไปนีโทแรม (Spinetoram 6% w/v. 5 อินด๊อกซาคาร์บ (Indoxacarb) 15% W/V EC อย่างใดอย่างหนึ่ง โดยฉีดพ่นทุกๆ 5-7 วัน หลังมีการระบาด โดยฉีดในระหว่างที่ข้าวโพดมีอายุ 15-45 วันหลังปลูก ทั้งนี้ เกษตกรควรศึกษาการใช้แล้วิธีการใช้ตามคำแนะนาของกรมวิชาการเกษตรประกอบด้วย

การทำรุ่น

การทารุ่น เป็นการพรวนดินดายหญ้าหลังข้าวโพงอกแล้ว แต่ทำก่อนที่ข้าวโพดหวานถึงระยะวิกฤติ (20-30 วันหลังปลูก) โดยใช้เครื่องมือหรือเครื่องจักรกลต่าง ๆ เช่น จอบ รถไถเดินตาม และรถแทรกเตอร์พ่วงจอบหมุน หรือเครื่องพูนโคน อย่างไรก็ตามการใช้ไถพูนโคนมักมีวัชพืชในแถวหลงเหลืออยู่ จึงต้องใช้จอบดายตามอีกครั้ง พร้อมกับการใส่ปุ๋ย สูตร 46-0-0 อัตรา 30-50 กก./ไร่

 

ปุ๋ย และ การใส่ปุ๋ยบำรุงดิน

การใส่ปุ๋ยให้มีประสิทธิภาพ ควรทำการวิเคราะห์ดินว่าขาดธาตุอาหารชนิดใด โดยพิจารณาเกี่ยวกับการใช้ปุ๋ยไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ให้เพียงพอแก่ความต้องการ

  1. 1. การใส่ปุ๋ยรองพื้น หมายถึง ใส่ปุ๋ยก่อนปลูกข้าวโพด โดยจะหว่านปุ๋ยในบริเวณที่จะปลูก แล้วพรวนดินกลบ จากนั้นจึงปลูกข้าวโพด ทำให้ปุ๋ยคลุกเคล้าอยู่ในดิน เมื่อรากข้าวโพดออกมาจากเมล็ด จะสามารถได้รับปุ๋ยทันที ซึ่งการใส่ปุ๋ยรองพื้นครั้งแรกควรมีทั้ง N-P-K ปุ๋ย P และ K นั้นเป็นปุ๋ยที่ไม่มีการเคลื่อนย้ายในดิน จึงจำเป็นต้องใส่ให้คลุกเคล้าอยู่ในดิน การใส่ปุ๋ยที่มี P และ K ภายหลัง ปุ๋ยจะอยู่ที่ผิวดิน และไม่เป็นประโยชน์กับข้าวโพด ปุ๋ยรองพื้น ในแต่ละพื้นที่สูตรปุ๋ยและอัตราที่เหมาะสมขึ้นกับการวิเคราะห์ดินและระดับผลผลิตที่ต้องการ ในทางปฏิบัติเพื่อความสะดวก เช่น ให้ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15, 16-20-0, 16-16-16 หรือ 20-20-0 ในการรองก้นหลุมก่อนปลูก อัตรา 20-30 กก./ไร่
  2. 2. การใส่ปุ๋ยหลังปลูก หมายถึง การใส่ปุ๋ยหลังปลูกข้าวโพดวันแรก 20-25 วัน พร้อมทำรุ่นหรือพูนโคน ใส่ปุ๋ยยูเรียสูตร 46-0-0 อัตรา 30-40 กก./ไร่ อาจกระทำโดยใช้รถใส่ปุ๋ยทำรุ่น หรือการแซะดินให้ห่างจากโคนต้นข้าวโพดประมาณ 15-20 เซนติเมตร แล้วกลบดิน

แหล่งที่มา: ทวีศักดิ์ ภู่หลา https://www.facebook.com/taweesak.pulam

 

น้ำและการจัดการน้ำ

ข้าวโพดหวาน เป็นพืชที่ต้องการน้ำตลอดอายุการเจริญเติบโต ดังนั้น แปลงปลูกข้าวโพดหวาน ควรมีแหล่งน้ำเพื่อการชลประทาน ไม่ควรใช้น้ำฝนเพียงอย่างเดียวเพราะการขาดน้ำจะมีผลถึงผลผลิตและคุณภาพเมล็ดอย่างชัดเจน ส่วนใหญ่การขาดน้ำในช่วงที่ข้าวโพดออกดอกและติดเมล็ดจะกระทบกระเทือนต่อผลผลิตมากที่สุด “ข้าวโพดต้องการน้ำตลอดช่วงอายุ 400-600  มม.” โดยช่วงวิกฤตของข้าวโพดเมื่อขาดน้ำ ผลผลิตจะลดลงอย่างมาก คือ

  1. 1. ก่อนหน้าการออกดอก 2 อาทิตย์
  2. 2. หลังการออกดอก 2 อาทิตย์

ตาราง ผลการขาดน้ำที่มีต่อผลผลิตข้าวโพด ระยะการเจริญเติบโตของข้าวโพด

เปอร์เซ็นต์ของผลผลิตที่ลดลง

1. ระยะต้นกล้าถึงระยะหัวเข่า

5-10

2. ระยะเริ่มเห็นช่อดอกตัวผู้โผล่

10-25

3. ระยะออกไหม หรือผสมเกสร

40-50

4. ระยะเป็นเมล็ดใส

30-40

5. ระยะแป้งแข็ง

20-30

 

ที่มา : ศูนย์วิจัยข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ต. กลางดง อ. ปากช่อง จ. นครราชสีมา 30320  โทรศัพท์ 061-558-5280-1  โทรสาร 0-4436-1776

อ่านบทความเพิ่มเติม ในคลังความรู้ดิจิทัลด้านการเกษตร

Related Articles